บทสวด เจริญพุทธมนต์ 7 ตำนาน
Buddha Dhamma Thai Buddha Dhamma Thai
226K subscribers
6,490,167 views
0

 Published On Oct 27, 2015

ประกอบด้วย

- ชุมนุมเทวดา (ผะริตวานะ เมตตัง)
- ปุพพะภาคะนะมะการ (นะโม ตัสสะ 9 ชั้น)
- สัมพุทเธ
- นะโมการะอัฏฐะกะ (นะโม 8)
1. มังคะละสุตตัง (พหู เทวา)
2. ระตะนะสุตตัง (ยังกิญจิ วิตตัง ย่อ)
3. กะระณียะเมตตะสุตตัง (กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ)
ถ้าสวดย่อ จะเริ่มที่ เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง
4. ขันธะปริตตะคาถา (วิรูปักเขหิ เม เมตตัง)
ถ้าสวดย่อ จะเริ่มที่ อัปปะมาโณ พุทโธ
5. วัฏฏะกะปะริตตัง (อัตถิ โลเก)
6. อะภะยะปะริตตัง (ยันทุนนิมิตตัง)
- ทุกขัปปัตตา จะนิททุกขาฯ
-. สัพเพ พุทธาฯ
-. อิติปิโส ภะคะวา
-. พาหุง
7. ชัยปริตร (มหากาฯ, ชะยันโต)

โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชน มักทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดสาธยาย บทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลหรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตในวาระต่างๆ
ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า พิธีเจริญพระพุทธมนต์

.......................
ในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ

show more

Share/Embed